วันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปข้อความรู้ บทที่ 6 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้

บทที่ เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้


ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ 

          สังคมของมนุษย์มีการเปลี่ยนแปลงความเป็นอยู่ไปอย่างรวดเร็ว กล่าวกันว่าได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่เรียกว่า การปฏิวัติ มาแล้วสองครั้ง

ครั้งแรกเกิดจากการที่มนุษย์รู้จักใช้ระบบชลประทานเพื่อการเพาะปลูก สังคมของมนุษย์จึงเปลี่ยนจากการเร่ร่อนมาเป็นการตั้งหลักแหล่งเพื่อทำการเกษตร 

ต่อมาเมื่อประมาณร้อยกว่าปีที่แล้ว ก่อนสงครามโลกครั้งที่ หลังจากที่ เจมส์ วัตต์ ประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำ มนุษย์นำเอาเครื่องจักรมาช่วยในอุตสาหกรรมการผลิตและการสร้างยานพาหนะเพื่อการคมนาคมขนส่ง ผลที่ตามมาทำให้เกิดการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม 

ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี 

เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพ ผลิตสินค้าและให้บริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น 

เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากมีราคาถูกลง สินค้าได้คุณภาพ 

เทคโนโลยีทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก การเดินทางเชื่อมถึงกันทำให้ประชากรในโลกติดต่อรับฟังข่าวสารกันได้ตลอดเวลา

การสร้างเทคโนโลยีสารสนเทศมักจะสร้างโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์เป็นหลักเนื่องจากคอมพิวเตอร์มีความสามารถและประสิทธิภาพในการจัดการเก็บข้อมูลมากกว่าอุปกรณ์อย่างอื่น รวมทั้งยังสามารถคำนวณประมวลผลข้อมูลได้อย่างรวดเร็วถูกต้องแม่นยำ

แต่ไม่จำเป็นต้องสร้างมาจากระบบคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียวเราสามารถใช้อุปกรณ์ชนิดอื่นสร้างระบบสารสนเทศได้ 

เนื่องจากคอมพิวเตอร์สามารถทำงานและจัดการข้อมูลได้ดีกว่าอุปกรณ์ชนิดอื่น จึงทำให้คอมพิวเตอร์กลายเป็นอุปกรณ์สำคัญในการสร้างระบบสารสนเทศ

เทคโนโลยีสารสนเทศมีประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิถีความเป็นอยู่ของสังคมสมัยใหม่อยู่มาก 

เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบต่อทุกสิ่งทุกอย่างทั้งทางการดำเนินชีวิต เศรษฐกิจ สังคม การเมือง การศึกษาและอื่นๆ 

เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ 

ลักษณะเด่นที่สำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศคือ ช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน



ความหมายและความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ 

ความหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ

สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ต่างๆ ที่ได้รับการสรุป คำนวณ จัดเรียง หรือประมวลแล้วจากข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบตามหลักวิชาการ จนได้เป็นข้อความรู้ เพื่อนำมาเผยแพร่และใช้ประโยชน์ในงานด้านต่าง ๆ

เทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ การศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ต่างๆ ก็เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติ กฎเกณฑ์ของสิ่งต่างๆ และหาทางนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ เทคโนโลยีจึงเป็นค้าที่มีความหมายกว้างไกล เป็นคำที่เราได้พบเห็นและได้ยินอยู่ตลอดมา

เมื่อรวมคำว่าเทคโนโลยีกับสารสนเทศเข้าด้วยกัน จึงหมายถึงเทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การรวบรวมการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล การพิมพ์ การสร้างรายงาน การสื่อสารข้อมูล ฯลฯ เทคโนโลยีสารสนเทศจะรวมไปถึงเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดระบบการให้บริการ การใช้ และการดูแลข้อมูล


ความสำคัญของสารสนเทศ

          สารสนเทศแท้จริงแล้วย่อมมีความสำคัญต่อทุกสิ่งที่เกี่ยวข้อง เช่น ด้านการเมือง การปกครอง ด้านการศึกษา ด้าน เศรษฐกิจ ด้านสังคม ฯลฯ ในลักษณะดังต่อไปนี้

1. ทำให้ผู้บริโภคสารสนเทศเกิดความรู้ (Knowledge) และความเข้าใจ (Understanding) ในเรื่องดังกล่าวข้างต้น

2. เมื่อเรารู้และเข้าใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องแล้ว สารสนเทศจะช่วยให้เราสามารถตัดสินใจ (Decision Making) ในเรื่องต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม

3. นอกจากนั้นสารสนเทศ ยังสามารถทำให้เราสามารถแก้ไขปัญหา (Solving Problem) ที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง แม่นยา และรวดเร็ว ทันเวลากับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น

ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มี ประการ Souter (1999) ได้แก่

ประการแรก การสื่อสารถือเป็นสิ่งจำเป็นในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ สิ่งสำคัญที่มีส่วนในการพัฒนากิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ประกอบด้วย Communications media, การสื่อสารโทรคมนาคม (Telecoms) และเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)

ประการที่สอง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประกอบด้วยผลิตภัณฑ์หลักที่มากไปกว่าโทรศัพท์ และคอมพิวเตอร์ เช่น แฟกซ์ อินเทอร์เน็ต อีเมล์ ทำให้สารสนเทศเผยแพร่หรือกระจายออกไปในที่ต่างๆ ได้สะดวก

ประการที่สาม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีผลให้งานด้านต่าง ๆ มีราคาถูกลง

ประการที่สี่ เครือข่ายสื่อสาร (Communication networks) ได้รับประโยชน์จากเครือข่ายภายนอก เนื่องจากจานวนการใช้เครือข่าย จำนวนผู้เชื่อมต่อ และจำนวนผู้ที่มีศักยภาพในการเข้าเชื่อมต่อกับเครือข่ายนับวันจะเพิ่มสูงขึ้น

ประการที่ห้า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทาให้ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ และต้นทุนการใช้ ICT มีราคาถูกลงมาก

ประการที่หก เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการวางแผนการดำเนินการระยะยาวขึ้น อีกทั้งยังทำให้วิถีการตัดสินใจ หรือเลือกทางเลือกได้ละเอียดขึ้น

จะเห็นได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทที่สำคัญในทุกวงการ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโลกด้านความเป็นอยู่ สังคม เศรษฐกิจ การศึกษา การแพทย์ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การเมือง ตลอดจนการวิจัยและการพัฒนาต่างๆ




การสื่อสารด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ 

เทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication Technology) มีการพัฒนารูปแบบให้สามารถติดต่อสื่อสาร ถึงกันได้ง่าย มีหลายรูปแบบ อุปกรณ์ต่างๆ ได้เพิ่มคุณสมบัติให้สามารถเชื่อมโยงถึงกันได้

การเพิ่มคุณค่าของระบบคอมพิวเตอร์มีมากขึ้นเมื่อมีการนำเทคโนโลยีการสื่อสารมาประยุกต์เข้าด้วยระบบกันที่เรียกว่า เครือข่ายคอมพิวเตอร์

อินเตอร์เน็ต (Internet) คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดยักษ์ที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก โดยมี มาตรฐานการรับส่งข้อมูลระหว่างกันเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถรับส่งข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ได้หลายรูปแบบ เช่น ตัวอักษร ภาพกราฟิก และ เสียงได้ รวมทั้งสามารถค้นหาข้อมูลจากที่ต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว

ทำให้การติดต่อสื่อสารนั้นเป็นไปอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ค่าใช้จ่ายถูกกว่าหลายเท่า นี่เป็นเหตุผลหลักที่ว่าทำไมเราต้องใช้อินเตอร์เน็ตซึ่งนับเป็นการปฏิวัติ สังคมข่าวสารครั้ง ใหญ่ที่สุดในยุคของเรา

ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ต มีดังนี้

ด้านการศึกษาเราสามารถต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตเพื่อค้นคว้าหาข้อมูลได้ เหมือนห้องสมุดขนาดยักษ์ส่งข้อมูลที่เราต้องการมาในเวลาไม่กี่วินาทีจากแหล่งข้อมูลทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม ศิลปกรรม สังคมศาสตร์ กฎหมายและอื่นๆ 

ผู้ใช้ที่ต่อเข้าอินเตอร์เน็ตสามารถรับส่งข้อมูลจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) กับผู้ ใช้คนอื่นๆ ทั่วโลกในเวลาอันรวดเร็ว

ด้านธุรกิจและการค้าอินเตอร์เน็ตมีบริการซื้อขายสินค้าผ่านคอมพิวเตอร์เราสามารถเลือกดูสินค้าคุณสมบัติต่างๆ ผ่านจอคอมพิวเตอร์ สั่งซื้อและจ่ายเงินด้วยบัตรเครดิตได้ทันทีซึ่งนับว่าสะดวกและรวดเร็วมาก

เราสามารถสรุปได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นเทคโนโลยีทุกรูปแบบที่นำมาประยุกต์ในการประมวลผล การจัดเก็บ การสื่อสาร และการส่งผ่านสารสนเทศด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยที่ระบบทางกายภาพประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ติดต่อสื่อสาร และระบบเครือข่าย ขณะที่ระบบนามธรรมเกี่ยวข้องกับการจัดรูปแบบของการมีปฏิสัมพันธ์ด้านสารสนเทศทั้งภายในและภายนอกระบบให้สามารถดำเนินการร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับการเรียนรู้

จากความเปลี่ยนแปลงนิยามของการเรียนรู้ ที่หมายถึงการที่บุคคลมีความเข้าใจ รับรู้ปัญหาหรือเรื่องราวที่ได้ประสบมา ที่มีความเกี่ยวข้องกับการการเพิ่มพูนทักษะ ความรู้ ความเข้าใจ และพัฒนาบุคคลนั้น ๆ เช่น การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้จากประสบการณ์การทำงาน การเรียนรู้ยุคใหม่ต้องมีประสิทธิภาพและมีความเหมาะสมกับสภาพสังคม 

ในปัจจุบันการเรียนรู้มุ่งหวังที่จะให้เกิดองค์ความรู้แก่ตัวผู้เรียน โดยมุ่งจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ไม่ใช่แค่การตีกรอบให้ผู้เรียนอยู่เฉพาะแต่ในส่วนที่เป็นความต้องการของครูผู้สอนเพียงอย่างเดียว แต่ต้องให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้มากขึ้นด้วย

เป้าหมายทางการศึกษาของประเทศที่พัฒนาแล้วอยู่ที่การให้การศึกษาแก่ประชาชนเข้าสู่โลกแห่งเทคโนโลยี โดยเน้นที่ความรอบรู้ของคนในชาติ การเรียนรู้กับการสร้างสังคมเป็นสิ่งที่ต้องให้เกิดขึ้นกับคนในชาติ การเรียนรู้ต้องรวดเร็ว ใช้เวลาน้อย ต้นทุนต่ำ และที่สำคัญ ความรู้จะมีบทบาทที่สำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ควบคู่กับการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้

การปฏิรูปการศึกษา มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียน คือการสร้างโอกาสให้แก่ผู้เรียนเข้าถึงแหล่งข้อมูล แหล่งความรู้ได้มากและสะดวกขึ้น ดังนั้นการปฏิรูปการศึกษาจึงต้องใช้ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในการจัดการเรียนรู้

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดระบบการเรียนการสอนทางไกล ซึ่งผู้เรียนและผู้สอนสามารถตอบโต้กันได้แม้ว่าจะอยู่ห่างกัน ผู้เรียนสามารถส่งการบ้านทางอินเทอร์เน็ตได้ ครูสามารถตรวจงานให้คะแนนได้ แม้กระทั่งการชี้แนะด้วยไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) หรือใช้ระบบกระดานข่าว (Bulletin Board System)

เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายมีบทบาทสำคัญยิ่งในการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยชั้นนำของต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น ฮ่องกง สิงค์โปร์ ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา การนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสามารถใช้ในด้านการศึกษา 

จะช่วยพัฒนาการเรียนรู้และอำนวยความสะดวกในด้านการสอนและแหล่งการเรียนรู้ได้ตลอดเวลา ไม่มีข้อจำกัดในด้านสถานที่ การสอนโดยใช้ระบบสารสนเทศจะจัดการเรียนรู้ได้ตามความแตกต่างของผู้เรียน ระบบการเรียนรู้ที่ใช้ในด้านการศึกษามีหลายระบบ เช่น E-learning, e – Book, e – Library และ e – Classroom

การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศในการเรียนรู้เป็นการเปิดโอกาสทางการศึกษาที่ทำให้คุณเรียนรู้โดยไม่มีข้อจำกัดในประเด็นต่าง ๆ เพียงแต่ผู้เรียนรู้ต้องศึกษาวิธีการเพื่อเข้าสู่ระบบที่ต้องการให้ถูกต้อง


การบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนรู้

ในโลกปัจจุบัน พบว่าความต้องการเกี่ยวกับตัวผู้เรียนเพิ่มมากขึ้น เพราะว่าที่ผ่านมาอาจจะมีการตอบสนองต่อการเรียนแบบท่องจำมามากแล้ว

การบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอน ผู้สอนควรจะศึกษาเทคนิค วิธีการ เทคโนโลยีต่างๆ ที่จะนำมาใช้เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้รับความรู้ใหม่ 

ซึ่งแต่เดิมมักเป็นการสอนให้ผู้เรียนเรียนโดยเน้นการท่องจำ และปรับเปลี่ยนมาสู่การใช้เทคนิควิธีการที่จะช่วยผู้เรียนได้รับข้อเท็จจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การใช้เทคนิคช่วยการจำ เช่น Mnemonics เป็นต้น 

ความต้องการของการศึกษาในขณะนี้คือ การสอนที่ผู้เรียนควรได้รับคือ ทักษะการคิดในระดับสูง (Higher-order thinking skills) ได้แก่ การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตลอดจนการแก้ปัญหา และการถ่ายโยง (Transfer) โดยเน้นการใช้วิธีการต่าง ๆ 

อาทิ สถานการณ์จาลอง การค้นพบ การแก้ปัญหา และการเรียนแบบร่วมมือ สาหรับผู้เรียนจะได้รับประสบการณ์การแก้ปัญหาที่สอดคล้องกับสภาพชีวิตจริง

สำหรับการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้ ผู้เขียนจะขอนำเสนอใน รูปแบบต่างๆ ดังต่อไปนี้คือ

1. สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ (Learning environment) 

เป็นการบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนรู้ที่นำทฤษฎีการเรียนรู้มาเป็นพื้นฐานการออกแบบร่วมกับสื่อหรือเทคโนโลยีสารสนเทศ 

ซึ่งหลอมรวมทั้งสองสิ่งเข้าไว้ด้วยกัน ที่ประกอบด้วยสถานการณ์ปัญหาที่กระตุ้นให้ผู้เรียนเรียนรู้ แหล่งการเรียนรู้ชนิดต่างๆ ที่จัดเตรียมไว้สำหรับให้ผู้เรียนค้นหาคำตอบ 

มีฐานการช่วยเหลือไว้คอยสนับสนุนผู้เรียนในกรณีที่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ตลอดจนการเรียนรู้แบบร่วมมือกันแก้ปัญหาที่สนับสนุนให้ผู้เรียนขยายมุมมองแนวคิดต่างๆสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ในปัจจุบันสามารถแยกตามคุณลักษณะของสื่อได้ รูปแบบ คือ 

(1) สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่าย 
(2) มัลติมีเดียที่พัฒนาตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ 
(3) ชุดการสร้างความรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์


2. การเรียนรู้แบบออนไลน์ (E-learning)

การเรียนรู้แบบออนไลน์ หรือ E-learning การเรียนรู้แบบออนไลน์เป็นการศึกษา เรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต (Internet) หรืออินทราเน็ต (Intranet) 

เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ตามความสามารถและความสนใจของตน โดยผู้เรียน ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนปกติ 

ซึ่งการให้บริการการเรียนแบบออนไลน์ มีองค์ประกอบที่สำคัญ ส่วน โดยแต่ละส่วนจะต้องได้รับการออกแบบเป็นอย่างดี เพราะเมื่อนามาประกอบเข้าด้วยกันแล้วระบบทั้งหมดจะต้องทางานประสานกันได้อย่างลงตัวดังนี้

1) เนื้อหาของบทเรียน

2) ระบบบริหารการเรียน ทาหน้าที่เป็นศูนย์กลาง กำหนดลำดับของเนื้อหาในบทเรียน เราเรียกระบบนี้ว่าระบบบริหารการเรียน (E-Learning Management System: LMS) ดังนั้นระบบบริหารการเรียนจึงเป็นส่วนที่เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนได้ศึกษาเรียนรู้ได้ด้วยตนเองจนจบหลักสูตร

3) การติดต่อสื่อสาร การเรียนแบบ E-learning นำรูปแบบการติดต่อสื่อสารแบบ ทาง มาใช้ประกอบในการเรียน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารอาจแบ่งได้เป็น ประเภทคือ ประเภทReal-time ได้แก่ Chat (message, voice), White board/Text slide, Real-time Annotations, Interactive poll, Conferencing และอื่นๆ ส่วนอีกแบบคือ ประเภท Non real-time ได้แก่ Web-board, E-mail



3. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-books)

เป็นหนังสือถูกนำมาจัดพิมพ์ในรูปแบบดิจิตอล ไม่บังคับการพิมพ์ และการเข้าเล่ม แผ่นซีดีรอมสามารถจัดเก็บข้อมูลได้จำนวนมากในรูปแบบของตัวอักษร ทั้งลักษณะภาพ ดิจิตอล ภาพอนิเมชั่น วิดีโอ ภาพเคลื่อนไหวต่อเนื่อง คำพูด เสียงดนตรี และเสียงอื่นๆ ที่ประกอบตัว อักษรเหล่านั้น 



4. ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (E-library)

เป็นแหล่งความรู้ที่บันทึกข้อมูลไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายและให้บริการสารสนเทศทางอิเล็กทรอนิกส์หรือผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

1. การจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อประโยชน์ในการรวบรวมและจัดเก็บสารสนเทศ และสะดวกในการบริการส่งสารสนเทศแก่ผู้ใช้ เป็นการเปลี่ยนรูปแบบสิ่งพิมพ์แบบเดิมให้อยู่ในรูปของอิเล็กทรอนิกส์ที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถอ่านได้ ทำได้โดยการจัดเก็บในรูปดิจิตัล ได้แก่ ซีดีรอม หรือจัดเก็บในฮาร์ดดิสต์

2. ระบบเครือข่าย เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายของห้องสมุดกับผู้ใช้และแหล่งสารสนเทศอื่น ๆ ทำให้ผู้ใช้สามารถติดต่อกับห้องสมุดและแหล่งสารสนเทศ อื่น ๆได้ทั่วโลก

3. การส่งเอกสารสารสนเทศแก่ผู้ใช้ เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับสารสนเทศที่ต้องการโดยไม่ต้องมายังห้องสมุด คือ ทางไปรษณีย์ โทรสาร และทางอินเตอร์เน็ต


5. แผนการจัดการเรียนรู้ 

เป็นการบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศในขั้นตอนต่างๆ ของแผนการจัดการเรียนรู้ ที่ยึดหลักการบูรณาการที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งสังเคราะห์จากทฤษฎีการเรียนรู้คอนสตรัคติวิสต์ ทฤษฎีพุทธิปัญญานิยม และคุณลักษณะของโปรแกรมทางด้าน ICT ดังกรอบแนวคิดในการจัดการเรียนรู้ดังนี้


กรอบแนวคิดในการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่บูรณาการ ICT ที่สังเคราะห์จากทฤษฎีการเรียนรู้คอนสตรัคติวิสต์ ทฤษฎีพุทธิปัญญานิยม และคุณลักษณะของโปรแกรมทางด้าน ICT

จากกรอบแนวคิดในการบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนรู้ แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างวิธีการจัดการเรียนรู้ (Method) ร่วมกับสื่อ(Media) ซึ่งในที่นี้ก็คือเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต วีดิทัศน์ ฯลฯ 

การการเลือกวิธีการจะต้องอยู่บนพื้นฐานของการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและเลือกใช้สื่อให้สนองต่อการรับรู้ของผู้เรียน ดังกรอบแนวคิดข้างต้น 

ในขั้นแรกที่เป็นการเชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ผู้สอนอาจกระตุ้นให้ผู้เรียนใส่ใจหรือกระตุ้นประสบการณ์เดิมโดยใช้สื่อพวกวีดิทัศน์ และตั้งคำถามที่ให้ผู้เรียนสามารถเรียกกลับประสบการณ์เดิมเหล่านั้นมาใช้ในการเรียนรู้สิ่งใหม่ 

ขั้นจัดประสบการณ์เรียนรู้ตั้งแต่ขั้นการกระตุ้นให้เกิดปัญหาและการมอบหมายภารกิจการเรียนรู้ การส่งเสริมการสร้างและการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง และการขยายแนวคิดที่หลากหลาย

 เทคโนโลยีสารสนเทศที่สามารถสนับสนุนการแสวงหาและค้นพบความรู้ เช่น อินเทอร์เน็ต เป็นต้น ในการสร้างและนาเสนอผลงานผู้สอนอาจให้ผู้เรียนใช้โปรแกรมประยุกต์คอมพิวเตอร์ เช่น MSWord, MSPower point เป็นต้น และอาจใช้ Social media ในการแลกเปลี่ยนแนวคิด ติดต่อสื่อสารระหว่างผู้เรียนอื่นๆได้อีกด้วย



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น